เคยไหมครับว่าเวลาถ่ายภาพเกิดคำถามว่า “วัดแสงยังไงดี” แรกเริ่มถ่ายภาพผมเองก็เคยมีคำถามแบบนี้ แต่ก็ใช้ไปตามเวรตามกรรมเรื่อยๆ ไม่ได้คิดมากอะไร คือถ่ายแล้วก็ดูจอหลังโอเคแค่นั้นพอจริงๆ
ทีนี้ด้วยการเป็นคนที่จบหลังคอมครับ หลังๆมาเริ่มีปัญหา(อย่างไม่รู้ตัว) คือไฟล์มันไม่ค่อยดีเหมือนเดิม ผมเองก็หาสาเหตุไม่ได้จนในที่สุดก็เพิ่งจะค้นเจอต้นเหตุก็คือ การวัดแสงที่ผิดพลาดของตัวเองนี่แหละ
ก่อนหน้านั้นผมถ่ายภาพโดยใช้หลักการถ่ายโอเวอร์แล้วกลับมาดึงลงในคอม แต่ด้วยความที่มือใหม่เกินไป ไม่เคยดูสิ่งที่เรียกว่า Histogram และของดีๆ อย่าง “Highlight Alert” ซึ่งมีอยู่ในกล้องทุกตัว ทำให้ภาพบางส่วนของผม สวยในจอกล้องแต่ไร้ข้อมูลในจอภาพ(ส่วนสว่าง) และผมก็คือไฟล์ภาพแต่งไม่สนุกครับ
สรุปคือคือถ่ายโอเวอร์เกินไป จนข้อมูลส่วนสว่างหายไปครับ
วันนี้ลองมาดูวิธีใช้งานกันครับ และบอกเลยว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไรเลยสำหรับการอ่านค่า Histogram และการใช้งาน Highlight Alert ทำให้คุณได้ภาพที่มีข้อมูลครบ เอาไฟล์ไปทำต่อได้สนุกกว่าเดิมด้วยครับ
ชี้แจง
- บทความนี้จะไม่พูดถึงภาพ High key, Low key นะครับ อันนั้นเป็นประเภทของภาพถ่าย ตอนนี้ให้ตัดออกไปก่อน
- ไม่พูดถึงระบบวัดแสงของกล้องนะ อย่างวัดแสงทั้งภาพ, เฉลี่ย หนัก-กลาง, วัดแสงแบบจุด พวกนั้นต้องไปหาอ่านกันเอาเองนะ
Histogram คืออะไร
คำตอบของผมนะ มันก็คือข้อมูลทั้งหมดของภาพเอามาจัดเรียงกันเป็นกราฟตั้งแต่มืดไปสว่างให้ดูง่ายๆ ว่าภาพนี้ข้อมูลภาพมันอยู่ช่วงไหนเยอะ (และให้มือใหม่ดูแล้วเกิดคำถามว่า คืออะไรแว้ ด้วย)
ประโยชน์ของ Histogram
จอหลังกล้องอาจโกหกได้เช่น เราถ่ายกลางแจ้งมากๆ มันก็มองไม่ชัดครับ อีกอย่างคือกล้องเก่าๆ หน่อยจอมันจะไม่ค่อยสู้แสงเหมือนกล้องใหม่ๆ (เช่น D700) แต่ Histogram โกหกไม่ได้ครับ ทำให้เรารู้คร่าวๆ ว่าข้อมูลภาพที่ได้ไม่ได้มืดหรือสว่างเกินไป
วิธีดู Histogram
ง่ายมากครับ มันไปนูนอยู่ด้านไหน ข้อมูลด้านนั้นก็จะเยอะครับ มันกองอยู่ด้านซ้าย ภาพก็จะมืด กองไปด้านขวาก็จะสว่าง
Highlight Alert หล่ะ
เป็น Function ของกล้องที่เอาใว้ตรวจว่าในภาพมีส่วนที่สว่างเกินไปไหม โดยจะแสดงโดยการกระพริบ
หลักการและการใช้ประโยชน์ Highlight Alert ในการถ่ายภาพ
ถ่ายให้ Highlight Alert ไม่มีหรือน้อยที่สุดครับ แต่เอาจริงๆ ยากนะเพราะฉะนั้นต้องดูประเภทงานครับ เช่น
ถ่ายวิว ส่วนที่มีโอกาศที่ Highlight จะหลุดคือท้องฟ้า ก็ดูไม่ให้หลุดมากเกินไป
ถ่ายคน ก็ให้ดู Highlight Alert ที่ผิวครับ (อันนี้ผมโดนบ่อย) เพราะถ่าย Portrait มักชดเชยแสงไปทางบวกอยู่แล้ว
* Highlight Alert ใช้ดูว่ามีส่วนไหนของภาพที่สว่างเกินไปจนไฟล์ไม่สามารถเก็บได้ เวลาใช้งานส่วนไหนที่ข้อมูลสว่างเกินจะกระพริบๆ ครับ
ไฟล์ภาพแบบที่ต้องการ
ก็คือไฟล์ที่มีค่า Histogram ที่ดี จะมีข้อมูลส่วนที่ต้องการครับครับ ถ้าอันไหนไม่สำคัญหลุดไป ผมว่าไม่เสียหายนะ สมมุติถ่ายคนเนี่ย ถ้าข้อมูลส่วน Skintone หาย (Highlight Alert ที่ผิวกระฟริบ) ก็สมควรถ่ายใหม่ครับ
สรุปง่ายๆ ตอนถ่ายภาพคือ
- ใข้ Highlight Alert เช็คหลังการถ่ายภาพทุกครั้ง แล้วเช็คข้อมูลในส่วนที่ต้องการว่าอยู่ครบไหม เช่น ท้องฟ้า (ถ้าถ่ายวิว) หรือสีผิว (ถ้าถ่ายคน) ครับ
บางทีเรื่องเล็กๆ ที่เรามองข้ามมานาน ก็อาจเปลี่ยนแปลงเทคนิค วิธีการถ่ายภาพไปตลอด ผมเองต้องบอกว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องอะไร เพียงแต่ใช้แล้วมันถูกกับตัวเอง ถูกกับกล้องที่ใช้อยู่ครับ ถ้ามีคำถามหรือผิดพลาดอย่างไร โพสใว้ด้านล่างหรือใน Page ก็ได้ครับ ยังไงก็ขอบคุณถ้าอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้
Happy Shooting ครับ