กล้องตัวคูณ (Croped Sensor) คืออะไร

กล้อง-Full Frame และกล้องตัวคูณ ความต่าง

บทความเกี่ยวกับ กล้องตัวคูณ (Croped Sensor) สามารถค้นหาอ่านได้ทั่วไปในกูเกิลและก็น่าจะมีจำนวนมากโขอยู่ แต่ผมเองก็ยังอยากลองเขียนดู เหตุผลเพราะว่าคำถามนี้ก็ยังถูกถามซ้ำๆ ตลอดเวลา ผมเองก็อยากจะแชร์ตรงนี้ ในแบบที่ผมเข้าใจ

และผมเองนั้นไม่ชอบคำว่า กล้องตัวคูณ สักเท่าไหร่ เพราะอะไรลองอ่านบทความก่อนละกันนะครับ

รู้จักกับ Cropped Sensor

Cropped Sensor ความหมายบ้านๆ ของผมคือ Sensor รับภาพในกล้องขนาดเท่ากับ Film 35 mm (กว้าง 36mm x 24mm ขนาดเดียวกับกล้อง Full Frame) ซึ่งเป็นขนาดรับภาพของฟิล์มที่นิยมใช้ในเมื่อก่อน เอามาลดขนาดลง กลายเป็นขนาดใหม่ๆ เช่น APS-H,  APS-C หรือ 4/3 Four Thirds system และขนาดเซ็นเซอร์เหล่านี้แหละครับที่เราเรียกกันติดปากว่า กล้องตัวคูณ

ให้ลองนึกภาพ ” กล้องสองตัวที่เหมือนทุกอย่าง แต่ตัวนึงเซ็นเซอร์เล็กกว่าจะเกิดอะไรขึ้น” นั่นแหละครับ Cropped Sensor สิ่งที่จะตามมาก็คือถ้าเอาไปถ่ายภาพที่จุดเดียวกัน ตัวที่เซ็นเซอร์ใหญ่กว่าก็เก็บภาพได้กว้างกว่า ทำให้ตัวเซ็นเซอร์เล็กกว่าต้องถอยไกลกว่า

พูดภาษาบ้านๆ คือ  จะถ่ายภาพแบบเดียวกัน แต่กล้องตัวคูณดันต้องยืนไกลกว่า

กล้อง-Full Frame และกล้องตัวคูณ ความต่าง
ภาพ : http://www.sxc.hu/photo/1411240

เพราะงั้น หากถ้าใช้กล้องตัวคูณ (Croped Sensor) แล้วอยากได้ต้นไม้เต็มต้น ก็เลยต้อง ถอยห่างออกจากแบบ เพื่อจะได้ต้นไม้เต็มต้นไงจ๊ะ

เซ็นเซอร์เล็กลง องศารับภาพก็น้อยตาม

 

กล้องตัวคูณ
ภาพ : http://en.wikipedia.org/wiki/File:LensCropFactor.png

ภาพด้านบนอธิบายได้ดีครับ นั้นคือ ถ้าเอา Full Frame (35 mm Sensor) มาถ่ายต้นไม้ (เส้นสีแดง) จะได้ต้นไม้เต็มต้น แต่ถ้าเอา Cropped Sensor (APS-C) (เส้นประสีดำ) มาถ่าย จะได้ต้นไม้ตั้งแต่โคนต้นถึงเกือบยอด เหตุผลเพราะ Sensor รับภาพมันเล็กกว่าเลยเก็บภาพได้เล็กกว่า (เพราะระยะทางจากเลนส์ถึงเซ็นเซอร์รับภาพในกล้อง เท่ากันทั้ง Full frame และ Croped Sensor ) จึงเป็นที่มาของคำว่า Cropped Sensor (Cropped แปลตรงๆก็คือตัดหรือเฉือนออกนั่นแล) โดยที่ระยะห่างระหว่างคนถ่ายกับต้นไม้เท่าเดิม

ขนาด Sensor รับภาพ Full Frame และ Cropped Sensor
ภาพด้านบน : ขนาด Crop Sensor เมื่อเทียบกับ Full Frame (กรอบสีฟ้า)

ad200

 

แล้วทำใมถึงเรียกกล้องตัวคูณ ? เพราะสมมุติถ้าใช้เลนส์ 50 mm บนตัวคูณ จะให้ภาพคล้ายๆ กับใช้เลนส์ที่ 75 mm บน Full frame ไงครับ (คูณประมาณ 1.5 หรือ 1.6 สำหรับ APS-C)

ทำใมตัวคูณ Canon กับ Nikon ไม่เท่ากัน ? ตัวคูณ Canon นั้นประมาณ 1.6 และ Nikon นั้นเท่ากับ 1.5 ถ้าจะสรุปง่ายๆ คือ เซ็นเซอร์ของ Canon นั้น “เล็กกว่านิดหน่อย” แต่แทบไม่มีผลในการใช้งานครับ

ทำใมผมถึงไม่ชอบคำว่ากล้องตัวคูณ เพราะคำนี้ทำให้ผมสับสนในช่วงแรกๆ โดยคิดว่าใสเลนส์ 50mm เข้าไปแล้วจะได้ภาพเหมือน 75 บน Full Frameครับ ซึ่งแท้จริงแล้ว มันก็ให้ภาพเหมือนกันกันทั้ง Full Frame กับ APS-C นั่นแหละ แต่มันโดนตัดออก (ก็เลยต้องถอยห่างจากแบบมากขึ้นเพื่อถ่ายภาพแบบเดียวกัน) ก็เลยชอบคำว่า Cropped Sensor ซึ่งเข้าใจได้ง่ายกว่า

กล้องตัวคูณให้ฉากหลังหลังเบลอน้อยกว่า ? ไม่มีผลทางตรง แต่มีผลทางอ้อม ถ้าใช้เลนส์ตัวเดียวกัน จะให้ภาพที่เหมือนกัน ให้ DOF เท่ากัน เพียงแต่กล้องตัวคูณจะถูกตัดขอบออก ทำให้จำเป็นต้องถอยออกจากแบบมากกว่า Full frame เมื่อถอยออกจากแบบมากกว่าเลยทำให้ฉากหลังเบลอน้อยลงงัย (แต่มันก็มีผลแบบสนิสาๆ (อ้อมๆ) ล่ะนะ)

ข้อเสียของ Crop Sensor

  • คุณภาพด้อยกว่าแน่นอน คิดง่ายๆ ว่าเซลรับแสงขนาดเล็กกว่า(เพราะพื้นที่เรียงตัวเล็กกว่า) ก็ให้คุณภาพของภาพด้อยกว่า รวมถึง Noise เมื่อถ่ายในสภาพแสงน้อยด้วย
  • Depth of filed อย่างที่บอกไป รวมถึงมิติของภาพที่ด้อยกว่า

ข้อได้เปรียบของ Crop Sensor 

  • ระบบโดยรวมเล็กลง Sensor รับภาพขนาดเล็ก ก็ทำให้เลนส์เล็กตาม นำ้หนักโดยรวมก็น้อยตามโดยเฉพาะระบบ 4/3 Four Thirds system ที่ทำเลนส์ได้ขนาดเล็กกว่าครึ่ง ในขณะที่รูรับแสงเท่ากัน (ถ้าไปลองจับๆ ของจริงจะเข้าใจว่าเล็กและเบามากครับ)
  • ม่านชัตเตอร์ขนาดเล็ก ออกแบบสามารถยิงรัวๆ มากกว่าและถูกกว่า ตัวอย่างกล้อง Canon 5d ซึ่งเป็น Full frame ได้ 3-4 ภาพต่อวินาที กับในขณะที่ Canon 7d ซึ่งราคาถูกกว่า ถ่ายได้ 7-8 ภาพต่อวินาที

VDO ด้านล่างเปรียบเทียบระหว่าง 5D markII + Canon 70-200 f2.8 กับ GH3 + Panasonic 35-100 f2.8 โดยคู่หลังนั้นมีน้ำหนักน้อยกว่าถึง 1 KG โดยที่ทั้งคู่มีช่วงและรูรับแสงเหมือนกัน นี่คือข้อได้เปรียบที่ชัดเจนของเซนเซอร์เล็กกว่าฮะ

ข้อสังเกตุส่วนตัว ผมสังเกตุว่า ช่างภาพโปรๆ ฝรั่งส่วนนึงนั้น ชื่นชอบระบบ 4/3 ครับ เพราะขนาดที่เล็กและได้ช่วงและรูรับแสงที่เหมือนกัน แม้คุณภาพจะ Drop ลงไปบ้าง อย่าลืมว่าภาพถ่ายที่ดีนั้น ไม่ได้อาศัยความสวยงามอย่างเดียว อย่าลืมให้ความสำคัญเนื้อหาด้วย

เลือกซื้อแบบไหนดี ? อันนี้คงต้องบอกว่าแล้วแต่ลักษณะงานครับ งานที่ต้องการความสวยงาม งานจริงจังอย่าง Wedding, studio, landscape ก็คงต้องให้พี่ใหญ่ Full frame แต่ถ้าคุณเป็นคนที่รักการถ่ายภาพอย่างพวก documentary ภาพครอบครัว Crop sensor ก็เป็นตัวเลือกที่ทำให้คุณไม่ต้องหอบอุปกรณ์ชิ้นโตไปไหนมาไหนให้ปวดหลังครับ

ไม่รู้ว่าบทความด้านบนจะเข้าใจง่ายขึ้นหรือเปล่า หากอ่านแล้วสับสนมากขึ้นก็ต้องขออภัยล่วงหน้าครับ 55+ แต่ไม่ว่าใครจะใช้กล้องอะไรยังไงอย่าลืมหยิบกล้องออกไปถ่ายรูป เพราะต่อให้มีกล้องดีๆ แต่นอนอยู่ในตู้กันชื้นก็น่าสงสารมันนะครับ ใครชอบบทความของผมอย่าลืมกด Like ด้านล่างเพื่อเป็นกำลังใจ ด้วยนะ ขอบคุณครับ

By The Ake Photography

Freelance Photographer base in Bangkok, Thailand.

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.